ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ของเหลว

   Homepage
ของเหลว

สมบัติของของเหลว

สมบัติทั่วไปของของเหลว

1.) ของเหลวมีรูปร่างไม่แน่นอน เปลี่ยนตามภาชนะที่บรรจุ


2.) ของเหลวประกอบด้วยโมเลกุลที่เคลื่อนที่อย่างไม่ค่อยเห็นระเบียบ มีช่องว่างระหว่างโมเลกุลน้อย


3.) โมเลกุลของของเหลวอยู่ชิดกันมากกว่าก๊าซ เพราะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมากกว่า


4.) ปริมาตรของของเหลวเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่ออุณหภูมิและความดันเปลี่ยน


5.) ของเหลวส่วนใหญ่มีความหนาเเน่นมากกว่าก๊าซ แต่น้อยกว่าของเเข็ง


6.) โมเลกุลของของเหลวสามารถแพร่กระจายได้ แต่ในอัตราที่ช้ากว่าโมเลกุลของก๊าซ เพราะของเหลวมีความหนา เเน่นมากจึงถูกดึงดูดโดยโมเลกุลข้างเคียง เเละมีบริเวณที่จะเคลื่อนที่จำกัดต้องปะทะโมเลกุลอื่นตลอดทาง


7.) เมื่อนำของเหลวสองชนิดที่ไมทำปฏิกิริยากันมาผสมกันปริมาตรรวมจะเท่ากับผลบวกของปริมาตรสารทั้งสอง


8.) ของเหลวสามารถระเหยได้ทุกๆอุณหภูมิ


10.) ของเหลวเดือดได้เมื่อของเหลวนั้นมีความดันไอเท่ากับความดันของบรรยากาศ


11.) ของเหลวมีแรงดึงผิว(Surface tension) และความหนืด(Viscosity) เพราะโมเลกุลของของเหลวอยู่ชิดกัน จึงดึงดูดกัน และของเหลวใดยิ่งมีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมาก จะยิ่งมีแรงดึงผิวมาก


               แรงตึงผิว (Surface tension) คือคุณสมบัติของพื้นผิวของของเหลว เป็นสิ่งทำให้เกิดบางส่วนของพื้นผิวของเหลวถูกดึงดูด (ยึดเข้าไว้ด้วยกัน) สู่พื้นผิวอื่น เช่น พื้นผิวของเหลวส่วนอื่น (การรวมตัวของหยดน้ำหรือหยดปรอทที่แกะกันเป็นลูกกลม)


แรงตึงผิวถูกทำให้เกิดขึ้นด้วยการดึงดูด (การดึงดูดของโมเลกุลกับโมเลกุลที่เหมือนกัน) เมื่อโมเลกุลบนพื้นผิวของของเหลวไม่ได้ล้อมรอบไปด้วยโมเลกุลที่เหมือนกันในทุกๆด้านแล้ว โมเลกุลจะมีแรงดึงดูดกับโมเลกุลใกล้เคียงบนพื้นผิวมากขึ้น


               การระเหย (Evaporation) หมายถึง การที่ของเหลวเปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นไออย่างช้าๆ และเกิดขึ้นเฉพาะผิวหน้าของของเหลวเท่านั้น นอกจากนั้นการระเหยยังสามารถเกิดได้ทุกๆ อุณหภูมิที่ยังมีของเหลวนั้นอยู่ เช่น น้ำสามารถระเหยได้ที่อุณหภูมิ 0-100๐C ที่ความดัน 1 บรรยากาศ


การใช้ทฤษฎีจลน์อธิบายปรากฏการณ์การระเหย
จากทฤษฎีจลน์ โมเลกุลของของเหลวเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา และเกิดการชนกันเอง ในการชนโมเลกุลของของเหลวจะมีการถ่ายเทพลังงานให้แก่กัน ภายหลังการชน บางโมเลกุลของของเหลวจะมีพลังงานจลน์น้อยลง และบางโมเลกุลมีพลังงานจลน์เพิ่มขึ้น ถ้าโมเลกุลที่มีพลังงานจลน์เพิ่มขึ้นอยู่ที่ผิวหน้าของของเหลวหรือสารรถเคลื่อนที่มาอยู่ที่ผิวหน้าได้ และสามารคเอาชนะแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลก้อจะหลุดออกจากผิวหน้าของของเหลวกลายเป็นไอ ซึ่งเรียกว่า การระเหย เนื่องจากโมเลกุลที่มีพลังงานจลน์สูงกลายเป็นไอ จึงทำให้พลังงานจลน์เฉลี่ยของของเหลวลดลง ของเหลวก้อจะดูดพลังงานจากสิ่งแวดล้อมเข้ามาแทนที่พลังงานที่เสียไปกับโมเลกุลที่กลายเป็นไอ และการระเหยเป็นปรากฏการณ์ซึ่งเกิดขึ้นไดทั้งอุณหภูมิสูงและอุณหภูมิต่ำ ตัวอย่างเช่น เมื่อเทเอทิลแอลกอฮอล์ใส่มือจะรู้สึกเย็น ทั้งนี้เพราะว่าเอทิลแอลกอฮอล์มีจุดเดือดต่ำระเหยได้ง่าย จึงดูดพลังงานความร้อนจากมือเราไปช่วยในการระเหย ทำให้มือเราเย็นลง
ปัจจัยที่มีผลต่อการระเหย
1. อุณหภูมิ
- ที่อุณหภูมิสูง ของเหลวจะระเหยได้มาก
- ที่อุณหภูมิต่ำ ของเหลวจะระเหยได้น้อย
2. ชนิดของของเหลว
- ของเหลวที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมาก จะระเหยได้ยาก จึงระเหยได้น้อย
- ของเหลวที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อย จะระเหยได้ง่าย จึงระเหยได้มาก
3. พื้นที่ผิวของของเหลว
- ของเหลวที่มีพื้นที่ผิวสัมผัสมาก จะระเหยได้มาก
- ของเหลวที่มีพื้นที่ผิวสัมผัสน้อย จะระเหยได้น้อย
4. ความดันบรรยากาศ
- ที่ความดันบรรยากาศสูง ของเหลวจะระเหยได้ยาก จึงระเหยได้น้อย
- ที่ความดันบรรยากาศต่ำ ของเหลวจะระเหยได้ง่าย จึงระเหยได้มาก
5. อากาศเหนือของเหลว
- บริเวณที่มีอากาศถ่ายเทหรือมีลมพัดตลอดเวลา ของเหลวจะระเหยได้มาก
- บริเวณที่ไม่มีอากาศถ่ายเทหรือไม่มีลมพัดตลอดเวลา ของเหลวจะระเหยได้น้อย
6. การคนหรือกวน เมื่อมีการคนหรือกวนของเหลวของเหลวนั้นก็จะระเหยได้เร็วขึ้น ดังนั้น ของเหลวหนึ่งๆ จะระเหยกลายเป็นไอได้เร็วขึ้นก็ต่อเมื่อ



- พื้นที่ผิวของของเหลวนั้นเพิ่มขึ้น
- ของเหลวนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้น
- ความดันของบรรยากาศเหนือของเหลวลดลง
- อากาศเหนือของเหลวมีการถ่ายเทตลอดเวลา เพื่อป้องกันการอิ่มตัวของไอ
- เมื่อมีการคนหรือกวนของเหลวนั้น



ประโยชน์ของหลักการระเหย
จากหลักการที่ว่าเมื่อของเหลวระเหยทำให้อุณหภูมิของของเหลวลดลง เราได้นำมาใช้ในการประดิษฐ์เครื่องทำความเย็น ได้แก่ ตู้เย็นหรือเครื่องทำความเย็นอื่นๆ เช่น เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ภายในเครื่องทำความเย็นจะบรรจุของเหลวที่มีคุณสมบัติระเหยง่าย และไอควบแน่นเป็นของเหลวได้ง่ายด้วย ส่วนใหญ่ใช้ ฟรีออน (CCl2F2) ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานดังนี้
1. ภายในเครื่องทำความเย็นจะบรรจุของเหลวที่เรียกว่า ฟรีออน (CCl2F2) โดยฟรีออนจะไหลไปตามท่อภายในเครื่องทำความเย็น และดูดความร้อนจากภายในเครื่องทำความเย็น ทำให้อุณหภูมิในเครื่องทำความเย็นลดลง และฟรีออนกลายเป็นไอ
2. ไอฟรีออนจะไหลไปตามท่อจนถึงเครื่องอัดความดันภายนอกเครื่องทำความเย็นไอจะถูกอัดด้วยความดันสูง และมีอุณหภูมิสูงขึ้น
3. ไอฟรีออนจะไหลผ่านท่อที่เป็นแผงระบายความร้อนบริเวณหลังเครื่องทำความเย็น ไอจะคายความร้อนทำให้เย็นลงและควบแน่นเป็นของเหลว ไหลไปตามท่อภายในเครื่องทำความเย็นอีกและเกิดวนเวียนอยู่เช่นนี้ตลอดไปจนกว่าจะได้ความเย็นตามที่ต้องการ



ปัจจัยที่มีผลต่อความดันไอของของเหลว
1. อุณหภูมิ  ความดันไอของของเหลว ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ เมื่อของเหลวมีอุณหภูมิสูงขึ้น ความดันไอของของเหลวจะสูงขึ้นด้วย และการทำให้ของเหลวมีความดันไอเท่ากันจะใช้อุณหภูมิไม่เท่ากัน
จุดเดือดของของเหลวคืออุณหภูมิที่ของเหลวมีความดันไอเท่ากับความดันบรรยากาศ  จุดเดือดของของเหลววัดที่ความดัน 1 บรรยากาศ และเรียกว่า “จุดเดือดปกติ”
2. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของของเหลว  เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลในของเหลวมีหลายชนิด และมีความแข็งแรงแตกต่างกัน เช่น แรงลอนดอน แรงดึงดูดระหว่างขั้ว พันธะไฮโดรเจน ของเหลวที่มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคแข็งแรงน้อยจะกลายเป็นไอได้ง่าย มีความดันไอสูง และมีจุดเดือดต่ำ
cr.https://electricpea42.weebly.com/3626361736103633360536363586362935913586362935913648362736213623.html

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อินโฟกราฟิก

Homepage

กรด-เบส

    Homepage  กรด-เบส รด เบส ในชีวิตประจำวัน ( Acid Base in Everyday Life) สารประกอบจำพวกกรด เบส มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างมาก ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่า กรด เบส คืออะไรอย่างง่ายๆ สารละลายกรด  คือสารละลายที่มีรสเปรี้ยว เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากน้ำเงินเป็นแดง หรือทำปฏิกิริยากับโลหะได้ แก๊ส H 2 และ เกลือ สารละลายเบส  คือสารละลายที่มีรสขม เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสจากแดงเป็นน้ำเงิน หรือมีลักษณะลื่นๆ นิยามของกรด-เบส Arrhenius Concept กรด   คือ สารประกอบที่มี H และเมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ H + หรือ H 3O + เบส  คือ สารประกอบที่มี OH และเมื่อละลายน้ำจะแตกตัวให้ OH – ข้อจำกัดของทฤษฎีนี้คือ สารประกอบต้องละลายได้ในน้ำ และไม่สามารถอธิบายได้ว่า ทำไมสารประกอบบางชนิดเช่น NH 3 จึงเป็นเบส ชนิดของกรดและเบส กรด  แบ่งตามการแตกตัว แบ่งได้ 3 ชนิด 1.  กรด Monoprotic  แตกตัว 1 ได้แก่ HNO 3 , HClO 3 , HClO 4 , HCN 2.  กรด Diprotic  แตกตัว 2 ได้แก่ H 2SO 4 , H 2CO 3 3.  กรดPolyprotic  แตกตัว 3 ได้แก่ H...

สารโมเลกุล

    Homepage สารโมเลกุล สารชีวโมเลกุล  (Biomolecules) หมายถึง สารอินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช และสัตว์ รวมถึงสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน และไฮโดรเจน เป็นองค์ประกอบหลัก และธาตุอื่นๆ เช่น ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน สารชีวโมเลกุลแต่ละชนิดมีขนาด โครงสร้าง คุณสมบัติ และปฏิกิริยาที่แตกต่างกัน ประเภทสารชีวโมเลกุลตามหน้าที่ 1. สารชีวโมเลกุลที่ให้พลังงาน ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน 2. สารชีวโมเลกุลที่ไม่ให้พลังงาน ได้แก่ วิตามิน เกลือแร่ และน้ำ 3. สารชีวโมเลกุลที่เป็นโครงร่าง ได้แก่ ไคติน (chitin) 4. สารชีวโมเลกุลที่เป็นรงควัตถุ ได้แก่ คาโรตินอยด์ (carotenoid), เมลานิน (melanin) และ ไซโตโครม (cytochromes) ประเภทสารชีวโมเลกุลตามลักษณะโมเลกุลเชิงซ้อน 1. คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrates) 2. โปรตีน (Protein) 3. ไขมัน น้ำมัน หรือไลปิด (Lipid) 4. กรดนิวคลีอิก (Nucleic acid) คาร์โบไฮเดรต  (Carbohydrates) คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrates) หรือ แซคคาไรด์ (saccharide) เป็นสารที่พบในพืช และสัตว์เกือบทุกชนิด โดย...